Powered By Blogger

วันอังคารที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2554

การประชาสัมพันธ์ห้องสมุด

สรุป การประชาสัมพันธ์ห้องสมุด
การประชาสัมพันธ์ห้องสมุด
    การประชาสัมพันธ์ และ การตลาดมีหน้าที่สัมพันธ์กันอย่าใกล้ชิด หลักการประชาสัมพันธ์คือ เลือกใช้เครื่องมือตลอดจนวิธีการในการประชาสัมพันธ์ให้เหมาะสม และมีประสิทธ์ภาพ ประสิทธิผล ส่วนหน้าที่ของการตลาด คือ การใช้หลักการบริหารทางธุรกิจบางส่วนมาประยุกต์ใช้เพื่อให้ผู้บริโภคเกิดความสนใจ พอใจ และประทับใจกับบริการที่จัดให้ ซึ่งจำเป็นต้องรู้จักการประชาสะมพันธ์อย่างดี เพื่อจะได้นำมาใช้กับการตลาดในงานบริการของห้องสมุด

วัตถุประสงค์ฺของการประชาสัมพันธ์
  1. เพื่อสร้างภาพพจน์ หรือภาพลักษณ์ที่ดีให้กับองค์การ
  2. เพื่อแก้ไขความเข้าใจผิดที่มีต่อองค์การในด้านต่างๆ
  3. เพื่อกระตุ้นความสนใจ
  4. เพื่อสร้างความนิยมแก่ชุมชนในละแวกใกล้เคียง
  5. เพื่อสร้างความนิยมในกลุ่มผู้ปฏิบัติงานในองค์การ
  6. เพื่อชี้แจงและให้บริการแก่ผู้ใช้ห้องสมุด
  7. เพื่อเพิ่มพูนความเป็นมิตรไมตรีจากผู้ที่เกี่ยวข้องกับองค์การ
กระบวนการประชาสัมพันธ์
     กระบวนการประชาสัมพันธ์แบ่งออกเป็น สี่ ขั้นตอน คือ
  1. การวิจัย การรับฟัง (Research-Listening)
  2. การวางแผน การตัดสินใจ (Planing-Decision Making)
  3. การสื่อสาร (Communication)
  4. การประเมินผล (Evaluation)
กลุ่มเป้าหมายของการสื่อสาร
  1. การสื่อสารในองค์การ
  • การสื่อสารจากผู้บังคับบัญชา
  • การสื่อสารจากผู้ใต้บังคับบัญชา
  • การสื่อสารจากผู้ร่วมงานระดับเดียวกัน
  • การสื่อสารต่างระดับสายงาน
    2. การสื่อสารภายนอกองค์การ
     สามารถทำได้สองวิธ๊ คือ การสื่อสารที่สถาบันควบคุมได้ กับ การสื่อสารผ่านสื่อมวลชน

หลักในการสื่อสาร
  1. ความถูกต้องน่าเชื่อถือ ของสารและบุคคลผู้ส่งสาร
  2. ความเหมาะสมของเนื้อหาสาระ
  3. ความแจ่มแจ้ง
  4. ความเหมาะสมกับกาลเทศะ
  5. ความต่อเนื่องสม่ำเสมอ
  6. ความเหมาะสมในการใช้สื่อ
  7. ความสามารถของผู้รับสาร
การวางแผนประชาสัมพันธ์
    การกำหนดวิธีการปฏิบัติเพื่อใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานนั้นๆมีความสอดคล้องต่อเนื่องเพื่อบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ โดยการประชาสัมพันธ์นั้นมีความสำคัญในเรื่องต่างๆต่อไปนี้
  1. ช่วยสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างสถาบัน
  2. เป็นกลไกในการสร้างภาพลักษณ์ที่ดี
  3. ช่วยผลักดันให้การดำเนินงานของสถาบัน องค์การ ไปได้ด้วยดี
  4. เป็นกลไกในการชักจูงโน้มน้าวใจ
  5. เป็นเครื่องมือสื่อสารทางการตลาดในองค์การ
  6. เป็นเครื่องมือในการแก้ปัญหาในสถาบันต่างๆที่เกิดขึ้น
ภาพลักษณ์ขององค์การ

    Philip Kotler (2000:553) ปรมาจารย์ด้านการตลาดอธิบายถึงคำ ภาพลักษณ์ (Image) ว่า เป็นองค์รวมของความเชื่อ ความคิด และความประทับใจที่บุคคลมีต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งทัศนคติและการกระทำใด ๆ ที่คนเรามีต่อสิ่งนั้น จะมีความเกี่ยวพันอย่างสูงกับภาพลักษณ์ของสิ่งนั้น ๆ

การเกิดภาพลักษณ์
   ภาพลักษณ์เกิดขึ้นได้ สอง ลักษณะคือ
  1. ภาพลักษณ์ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและสภาพแวดล้อม โดยที่สถาบันไม่ได้ดำเนินการใดๆ
  2. ภาพลักษณ์ที่เกิดจากกระบวนการสร้างภาพลักษณ์ตามที่สถาบัน องค์การ ต้องการจะเป็น


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น