Powered By Blogger

วันอังคารที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

บริการข่าวสารที่ทันสมัย Current Awareness Service CAS

สรุป บริการข่าวสารที่ทันสมัย Current Awareness Service CAS (19/07/54)

บริการข่าวสารที่ทันสมัย Current Awareness Service CAS

ความหมาย 
    Van Brakel (1997:127) บริการช่วยให้ผู้ใช้ได้รับข่าวสารทันสมัยและการปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในสาขาที่สนใจ
   Hamiton(1995:3) บริการสารสนเทศที่ทันสมัย เป้นยริการแจ้งให้ผู้ใช้ทราบถึงข้อสนเทศใหม่ๆ ความสนใจของผู้ใช้ทันทีที่สถาบันนั้นๆ ได้รับทรัพยากรสารสนเทศ หีือทราบว่ามีสารสนเทศนั้นเกิดขึ้นในรุปแบบที่หลากหลาย จากสารสนเทศสิ่งพิมพ์ หนังสือ วารสาร เอกสารการประชุม วิทยานิพนธ์ สารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ สื่อประสม

ปรัชญาการบริการ
    เอกสารที่ต้องการ สำหรับบุคคลที่ใช้ ในเวลาที่ทัน

วัตถุประสงค์ (Fourie,1999)
    ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ได้ตามความต้องการ

รูปแบบของการบริการ CAS 
    เดิม การเสียนเอกสาร หรือจัดส่งโดยตรงโดย
  • สำเนาหน้าปก สำเนาสารบาญ หรือหน้าแรกของบทความ สาระสังเขป
  • ตัดข่าวหน้าหนังสือพิมพ์ส่ง หรือ สรุปข่าว
  • นำเสนอจดหมายข่าว Newsletter
งาน CAS ใช้เวลาในการจัดทำมากจึงเริ่มมีการนำมาแทรกในเทคโนโลยีสารสนเทศมากขึ้นในการใช้การบริการ

ผู้นำฐานข้อมูลเริ่มจัดทำบริการเสริมการใช้ฐานข้อมูล เช่น
  • ingenta จะให้บริการส่งบทความใหม่ทุกอาทิตย์ในหัวข้อที่ผู้ใช้บริการสนใจ
  • Emerald จัดทำบริการจดหมาย TOC และแจ้งบทความใหม่ในเรื่อง/หัวข้อที่ผู้ใช้กำหนด แจ้งทาง E-mail 
  • Google จัดบริการ Alert แต้งบทความใหม่ในเรื่อง/หัวข้อที่ผู้ใช้กำหนด/แจ้งทาง E-mail
การเขียนเอกสารแบบเดิม
สามารถทำได้ 3 วิธี
  1. ส่งโดยตรงจากผู้ใช้ต่อๆกันไป
  2. แบ่งผู้ใช้ออกเป็นกลุ่มเล็กๆ
  3. จัดส่งโดยตรงไปยังผู้ใช้แต่ละคน
ข้อควรปฏิบัติในการเวียนเอกสาร
  1. ไม่ควรจัดบริการแก้สมาชิกใหม่
  2. ไปเยี่ยมผู้ใช้ ณ ที่บริการเป้นครั้งคราว เพื่อเป็นการกระตุ้นให้ผู้ใช้ส่งเอกสารไวขึ้น
  3. จัดลำดับให้ผู้ใช้รับเอกสารก่อนหลังสลับกันบ้าง
ข้อดีของการเวียนวารสาร คือ
  • เป็นการกระจายสารสนเทศไปสู่ผู้ช้ที่แน่นอน โดยเฉพาะผู้ใช้ที่อยู่ห่างไกลจากแหล่งสารสนเทศ
  • ให้โอกาศผู้ใช้ได้เห็นเนื้อหาของเอกสาร แต่ละรายการรวมทั้งข่าวหรือโฆษณาในเอกสาร
ข้อด้อย คือ
  • ผู้ใช้ที่ได้เอกสารคนสุดท้าย อาจได้รับสารสนเทศที่ล้าสมัยแล้ว
  • เสี่ยงต่อการชำรุดเสียหานของเอกสาร
  • เพิ่มภาระของงานมากขึ้น
การจัดแสดงทรัพยากรสารสนเทศใหม่
   เป็นการนำสารสนเทศที่เข้ามาใหม่จัดแสดงในระยะเวลาที่เหมาัะสม
ระยะเวลาในการแสดง
  • ส่วนใหญ่แล้วประมาณ 2 สัปดาห์
  • บางแห่งจะใช้วิธีทยอยออกมาแสดง
  • บางแห่งรวมนำมาออกแสดงครั้งเดียว
การอนุญาติให้ใช้ในขณะจัดแสดง
การจัดแสดงสามารถให้ยืมสารสนเทศได้
การดำเนินการทางด้านเทคนิค
   ทรัพยากรสารสนเทศที่นำมาแสดงส่วนใหญ่เป็นทัพยากรทางเทคนิคเรียบร้อยแล้วดังนั้นจึงควรพิจารณาด้วยว่าเป็นทรัพยากรสารสนเทศประเภทใด หรือรายการใด ควรนำจัดแสดงก่อนหรือหลังดำเนินการด้านเทคนิค

โทรคมนาคม (Telecomms)
  โทรศัพท์ คิมพิวเตอร์ มือถือ Voice-mail หรือ E-mail
ข้อดี
  ผู้ใช้คุ้นเคยกับการสื่อสารด้วยคำพูด บางครั้งผู้รับ ชอบฟังมากกว่าผู้อ่าน ถ้าสิง่ที่ฟังเป็นประโยชน์

วันอาทิตย์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

บริการสอนการใช้ (Instruction services)

สรุป บริการสอนการใช้ (Instruction services) (10/07/54)

บริการสอนการใช้ (Instruction services)

สมาคมห้องสมุดอเมริกันได้กำหนดไว้คือ
   หน้าที่ของห้องสมุดทุกประเภท คือต้องจัดการให้ผู้ใช้มีโอกาสเข้าใจในระบบการจัดการสารสนเทศ การแนะนำการใช้ห้องสมุดถือเป็นหลักการแรกในการให้บริการ 
   ช่วยให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงสารสนเทศได้ด้วยตนเอง เป็นการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต(Life Learning) ซึ่งไม่เพียงแต่เป็นการช่วยค้นหาสารสนเทศเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการเรียนรู้วิธีค้นสารสนเทศด้วยตนเองต่อไปในอนาคตอีกด้วย

Literacy
   มีความหมายครอบคลุมเพียงการอ่านออกเขียนได้ คิดเลขเป็นพอใช้ ชีวิตอยู่ในสังคมปัจจุบันได้ (ชุติมา สัจจานันท์,2550,น.27)

Information Literacy
    การรู้สารสนเทศ หมายถึง ความรู้ ทักษะความสามารถของบุคคลในการตระหนักถึงความต้องการสารเสนเทศ การเข้าถึงสารสนเทศและแหล่งสารสนเทศ การประเมินสารสนเทศ และการนำสารสนเทศไปใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ตนเองและส่วนรวม

นอกจากนี้แล้วยังมีคุณสมบัติอื่นๆอีกคือ

Computer literacy
     ทักษะการรู้สารสนเทศการรู้คอมพิวเตอร์ หมายถึงการที่บุคคลมีความรู้ความเข้าใจ คุณสมบัติระบบ และการประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ให้เกิดประโยชน์กับงานของตนเองเข้ามาด้วย เนื่องจากเห็นว่าคอมพิวเตอร์เป็นสื่อกลางในการจัดการสารสนเทศ และการเข้าถึงสารสนเทศ รวมทั้ง การนำมาใช้งานในชีวิตประจำวันเพิ่มขึ้น

Library literacy
     การรู้ห้องสมุด ผู้เรียนต้องรู้ว่า ห้องสมุดเป็นแหล่งรวบรวมสารสนเทศในสาขาวิชาต่างๆ ไว้ในรูปแบบที่หลากหลายทั้งในรูปสื่อสิ่งพิมพ์ สื่อโสตทัศน์ และสื่ออิเลกทรอนิกส์ รู้วิธีการจัดเก็บสื่อ รู้จักใช้เครื่องมือช่วยค้นต่างๆ รู้จักกลยุทธ์ในการค้นคืนสารสนเทศแต่ละประเภท รวมทั้งบริการต่างๆ ของห้องสมุด โดยเฉพาะห้องสมุดของสถาบันการศึกษาที่ผู้เรียนกำลังศึกษาอยู่จะต้องรู้จัก อย่างลึกซึ้งในประเด็นต่างๆ ดังกล่าวแล้ว การรู้ห้องสมุดครอบคลุมการรู้แหล่งสารสนเทศอื่นๆด้วย

Network Literacy
     การรู้เครือข่าย ผู้เรียนต้องรู้ขอบเขตและมีความสามารถในการใช้สารสนเทศทางเครือข่ายที่ เชื่อมโยงถึงกันทั่วโลก สามารถใช้กลยุทธ์การสืบค้นสารสนเทศจากเครือข่าย และการบูรณาการสารสนเทศจากเครือข่ายกับสารสนเทศจากแหล่งอื่นๆ
  
Visual Literacy  
    การรู้เกี่ยวกับสิ่งที่เห็น ผู้เรียนสามารถเข้าใจและแปลความหมายสิ่งทีเห็นได้รวมถึงความสามารถในการคิด วิเคราะห์ การเรียนรู้ การแสดงความคิดเห็น และสามารถใช้สิ่งที่เห็นนั้นในการทำงานและการดำรงชีวิตประจำวันของตนเองได้ เช่น สัญลักษณ์บุหรี่ และ มีเครื่องหมายกากบาททาบอยู่ด้านบนหมายถึง ห้ามสูบบุหรี่ สัญลักษณ์ผู้หญิงอยู่หน้าห้องน้ำ หมายถึง ห้องน้ำสำหรับสตรี เป็นต้น 

Media Literacy  
  การรู้สื่อ ผู้เรียนต้องสามารถเข้าถึง วิเคราะห์ และผลิตสารสนเทศจากสื่อต่างๆ เช่น โทรทัศน์ ภาพยนตร์ วิทยุ ดนตรี หนังสือพิมพ์ นิตยสาร เป็นต้น รู้จักเลือกรับสารสนเทศจากสื่อที่แตกต่างกัน รู้ขอบเขตและการเผยแพร่สารสนเทศของสื่อ เข้าใจถึงอิทธิพลของสื่อ และ สามารถพิจารณาตัดสินได้ว่าสื่อนั้นๆ มีความน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงไร 

Digital Literacy  
    การรู้สารสนเทศดิจิทัล ผู้เรียนสามารถเข้าใจและใช้สารสนเทศรูปแบบซึ่งนำเสนอในรูปดิจิทัลผ่าน เครื่องคอมพิวเตอร์ ตัวอย่างการรู้สารสนเทศดิจิทัล เช่น สามารถดาวน์โหลดไฟล์ข้อมูลจากแหล่งทรัพยากรสารสนเทศที่เข้าถึงในระยะไกลมา ใช้ได้ รู้ว่าคุณภาพสารสนเทศที่มาจากเว็บไซต์ต่างๆ แตกต่างกันรู้ว่าเว็บไซต์น่าเชื่อถือและเว็บไซต์ไม่น่าเชื่อถือ รู้จักโปรแกรมการค้นหา สามารถสืบค้นโดยใช้การสืบค้นขั้นสูง รู้เรื่องของกฎหมายลิขสิทธิ์ที่คุ้มครองทรัพยากรสารสนเทศบนเว็บไซต์ การอ้างอิงสารสนเทศจากเว็บไชต์ เป็นต้น 
  
Language Literacy 
  การมีความรู้ด้านภาษา ผู้เรียนมีความสามารถกำหนดคำสำคัญสำหรับการค้น ในขั้นตอนการค้นคืนสารสนเทศที่สำคัญอย่างยิ่งก็คือ การค้นสารสนเทศจาก
อินเตอร์ เนต และการนำเสนอสารสนเทศที่ค้นมาได้ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยเฉพาะภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่จำเป็นมากที่สุด เนื่องจากเป็นภาษาสากล และสารสนเทศส่วนใหญ่เผยแพร่เป็นภาษาอังกฤษ
 

Critical Thinking 
   การคิดอย่างมีวิจารณญาณ ผู้เรียนสามารถคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ ตัดสินใจเลือกรับสารสนเทศที่นำเสนอไว้หลากหลาย โดยการพิจารณาทบทวนหาเหตุผล จากสิ่งที่เคยจดจำ คาดการณ์ โดยยังไม่เห็นคล้อยตามสารสนเทศที่นำเสนอเรื่องนั้นๆ แต่จะต้องพิจารณาใคร่ครวญไตร่ตรองด้วยความรอบคอบและมีเหตุผลว่าสิ่งใดสำคัญ มีสาระก่อนตัดสินใจเชื่อ จากนั้นจึงดำเนินการแก้ปัญหา 

Information Ethic 
    การมีจริยธรรมทางสารสนเทศ การสร้างผู้เรียนให้เป็นคนดี มีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณ มีความสำคัญและเป็นเป้าหมายหลักของการจัดการศึกษา เพื่อปลูกฝังผู้เรียนให้รู้จักใช้สารสนเทศโดยชอบธรรมบนพื้นฐานของจริยธรรม ทางสารสนเทศ เช่น การนำข้อความหรือแนวคิดของผู้อื่นมาใช้ในงานของตนจำเป็นต้องอ้างอิงเจ้าของ ผลงานเดิม การไม่นำข้อมูลที่ขัดต่อศีลธรรมและจรรยาบรรณของสังคมไปเผยแพร่ เป็นต้น  
แหล่งอ้างอิง : คณาจารย์ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัย
ศรีนครินทรวิโรฒ.//(2548).ทักษะการรู้สารสนเทศ.//พิมพ์ครั้งแรก.//กรุงเทพฯ: ภาควิชา
บรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 



การส่งเสริมการเรียนรุ้ในสถาบันอุดมศึกษา
      การพัฒนาให้ผู้ใช้เป็นผู้รู้สารสนเทศ จำเป็นต้องเร่งดำเนินการปูพื้นฐานตั้งแต่การศึกษาระดับต้น และต่อเนื่องถึงระดับอุดมศึกษา (Bruce,2002)
     ประเทศต่างๆจึงกำหนดให้ทักษะการเรียนรู้สารสนเทศ เป้นทักษะหนึงที่ต้องพัฒนาให้เกิดขึ้นในตัวผู้เรียน นอกเหนือจากการเรียนรุ้ในสาขาวิชาด้านต่างๆ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาการเรียนการสอน
      จัดทำเกณฑ์ และแบบทดสอบใช้ 3 มาตรฐาน ด้วยกัน คือ 
  1. สหรัฐอเมริกา Association of college and Research Library 
  2. สถาบันสากล Education testing service (ETS)
ห้องสมุดและการส่งเสริมการรู้สารสนเทศ
      เรียกได้หลากหลาย เช่น การแนะนำห้องสมุด/นำชม (Library Orientation) การสอนการเข้าถึงบรรณานุกรม (Bibliographic Instruction) การให้การศึกษาผู้ใช้ (Users Education) หรือการฝึกทักษะการเรียนรู้ (Information skills training)


การบริการสอนการใช้ห้องสมุดจะจดบริการ 2 ลักษณะ คือ บริการเฉพาะ (One-to-One Instruction) ให้บริการเป็นกลุ่ม (Group Instuction)
  •  นำชมห้องสมุดเกี่ยวกับ ลักษณะทางกายภาพห้องสมุด เจ้าหน้าที่ห้องสมุด เป็นต้น
  • บริการสอนการใช้เครื่องมือช่วยค้นหา
  • บริการสอนการค้นคว้า

วันอังคารที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

บริการนำส่งเอกสาร

สรุป บริการนำส่งเอกสาร (06/07/54)

บริการนำส่งเอกสาร

      การจัดหาเอกสารที่ผู้ใช้ต้องการทั้งเอกสารที่พิมพ์เผยแพร่และไม่ได้พิมพ์เผยแพร่ ซึ่งจัดส่งอยู้ในรูปแบบของกระดาษ และวัสดุย่อส่วน หรือเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ ด้วยวิธีการส่งที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งมีการคิดค่าบริการส่งสำหรับผู้ใช้
        บริการที่เกี่ยวข้องกับลิขสิทธิ์ที่ผู้บริการนำส่งต้องขออนุญาตผู้มีสิทธิ์ในผลงานนั้น และเสียค่าลิขสิทธิ์ให้ถูกต้องก่อนการทำสำเนาและส่งถึงลูกค้า

บริการนำส่งสารสนเทศ (Document Delivery)
        
         บริการเสริมที่ ILL มีเครือข่าย และนอกเหนือเครือข่ายที่ไม่มีให้บริการ
  • หนังสือ บทในหนังสือ บทความวารสาร รายงานการประชุม
  • รวมถึงการติดต่อให้ได้มาซึ่งเอกสารที่ผู้ใช้ต้องการจากผู้จัดจำหน่าย เช่น วารสารที่มีราคาสูงมาก จะมีการใช้บริการเป็นครั้งๆ เมื่อต้องการ
  • การจัดการให้ผู้ใช้ได้เอกสารผ่านทางฐานข้อมูล
ปรัชญาการบริการ
  • มีการตอบสนองความต้องการของผู้ใช้
  • เพิ่มศักยภาพในการบริการผู้ใช้
  • มีการแก้ปัญหาในการบริการในด้านต่างๆเสมอ
  • ไม่มีห้องสมุดใดที่มีทรัพยากรสารสนดเทศครบตามที่ผู้ใช้ต้องการ
  • มีงบประมาณลดลง ผู้ใช้ถูกจำกัดการใช้
วิธีการนำส่ง 
        มีการนำส่งทั้งภายใน และภายนอก
  1. ส่งทางไปรษณีย์
  2. ทางโทรสาร
  3. ยานพาหนะ
       Electronic Document delivery Services = เร็ว
  1. ทาง E-mail
  2. นำส่งด้วยภาพลักษณ์เอกสาร (Document image system) ซึ่ง Prospero เป็นโปรแกรม OSS ใช้ในการส่งเอกสารแนบ tiff file ซึงไม่สามารถ copy ได้ 
ผู้้ให้บริการ
สถาบันบริการสารสนเทศ
  1. จัดส่งในสถาบัน
  • ทาง E-mail
  • ทางยานพาหนะ
  • ทางระบบออนไลน์ e-office
  2. การจัดส่งระหว่างสถาบันควรมีข้อตกลงร่วมกันระหว่างตัวแทนจัดหาและการจัดส่งเอกสาร
  3. ผู้ให้บริการทั่วไป
  4. ผู้ให้บริการเฉพาะด้านสาขา
  5. ผู้ให้บริการที่เป้นสำนักพิมพ์
  6. ผู้ให้บริการที่เป็นผู้จัดจำหน่ายฐานข้อมูล
  7. ผู้ให้บริการที่้เป็นนายหน้าค้าสารสนเทศ

การบริการ
  • การบริการแบบปกติทั่วไป
  • การบริการแบบออนไลน์

วันศุกร์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

บริการยืมหนังสือสำรอง

สรุป บริการหนังสือสำรอง (02/07/54)

บริการยืมหนังสือสำรอง

ปรัชญาของหนังงานหนังสือสำรอง
  • ส่งเสริมการเรียนการสอน
หนังสือสำรอง
  • ทรัพยากรสารสนเทศที่มีจำกักในระยะเวลาที่ยืมทรัพยากร
  • มีการให้บริการที่เคาเตอร์ยืมคืน
  • ส่วนใหญ่แล้วใช้ในห้องสมุดเท่านั้น
  • หากมีการอนุญาติให้ยืม จะมีขั้นตอนในการยืมปกติทั่วไป
  • มีการจำกัดจำนวนในการยืม
ทรัพยากรสารสนเทศที่ให้ยืม
  • ทรัพยากรสารสนเทศในห้องสมุดทุกชนิด
  • ทรัพยากรสารสนเทศส่วนบุคคล
  • CD,VCD.DVD
  • บทความชนิดต่างๆ
  • ตัวอย่างแบบทดสอบ ข้อความ ความเรียงประเภทต่างๆ
  • เอกสารฉบับ Electronics เมื่อมีปัญหาในด้านค่าใช้จ่ายและมีระบบป้องกันในการเข้าใช้เพื่อไม่ให้มีการคัดลอกสำเนาไปใช้ได้
ความสำคัญบริการหนังสือสำรอง
  • มีบทบาทในการสนับสนุนการเรียนการสอน
  • ทำให้นักศึกษาสามารถขเา้ถึงสารสนเทศได้อย่างเท่าเทียมกัน
  • สร้างความสักพันธ์ที่ดีต่อบรรณารักษ์และผู้สอน
  • คุณภาพการบริการ
  • นิยมบริการในห้องสมุดอุดมศึกษา
  • อาจมีบริการในห้องสมุดโรงเรียน
  • มีการปรับเปลี่ยนอยู่เสมอในแต่ละเทอม
ขั้นตอนในการดำเินินงาน
     งานที่ปฏิบัติ
  • รับใบขอบริการ การขอใช้บริกา่ีร การขอใช้ออนไลน์
  • รับเอกสาร หรือ คัดทรัพยากรสารสนเทศจัดการบริการ มีการตกลงระยะเวลาในการยืม
  • จัดทำสำเนาหรือสแกน
  • มีการเข้าเล่ม
  • จัดการระเบียบเอกสาร เช่น การจัดหมวดหมู่ หรือจัดทำระบบที่ทำให้หยิบง่าย นิยมเรียงตาืมชื่อกระบวนวิชาผู้สอน หรือมีการกำหนดหมายเลข"ทำบัตรยืม"
  • กำหนดระยะเวลาระเบียบในการยืม
  • ให้บริการยืมคืน
  • จัดเก็บค่าปรับ
  • คืนย้ายเอกสารเก็บ
  • แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น
  • จัดเก็บสถิติ
  • การดูแลรักษาเอกสาร
  • การรักษาความปลอดภัย
 การจัดเก็บ
  • การจัดเก็บตามหมายเลขกระบวนวิชาชื่อผู้สอน เรียงตามชื่อเรื่อง หรือชื่อผู้แต่ง หรือมีการกำหนดหมายเลข
  • บทความแบบทดสอบในการจัดเก็บในแฟ้ม และใส่บาร์โค้ดสำหรับยืมออก
  • เอกสารที่มีการสแกน ให้มีการจัดเก็บไว้บน OPAC และแจ้งแหล่งจัดเก็บ หรือมีการจัดทำรายชื่อแยกไว้
การจัดการเอกสาร
  • จัดทำบัตรยืม และมีคำแนะนำ
  • ใช้สีแตกต่างกันในกรณีที่มีระยะเวลาในการยืมที่แตกต่างกัน
  • ใช้ชื่อผู้สอนกระบวนวิชา
ระยะเวลายืม
  • ยืมในห้องสมุดทั่วไประยะเวลาที่กำหนด 2 ชั่วโมงไม่มีการขอยืมต่อ
  • ยืมออกห้องสมุด 1-2 วัน หรือเฉพาะนอกเวลาทำการ และนำมาคืนในระยะเวลาที่กำหนด มีค่าปรับสูงสำหรับคิดเป็นชั่วโมง
  • ทั่วไปแล้วระยะเวลาในการยืมจะต้องสั้นกว่าปกติ และต้องให้หมุนเวียนในกล่มผู้ใช้อย่างทั่วถึง
การเข้าถึง
  • โปรแกรมห้องสมุดจะมีงานหนังสือสำรองให้
  • ระบบที่มีการสำรองจะมีการแจ้งในการค้น OPAC ทั่วไประบบห้องสมุดอัตโนมัติจะมีโปรแกรมจัดการหนังสือสำรองให้
  • มีการทำรายการแจ้งแยกให้สามารถค้นหาได้
  • แจ้งผู้สอนถึงการจัดเก็บ วิธีการจัดเก็บ เพื่อผู้สอนแจ้งการศึกษา
ความสัมพันธ์กับผู้สอน
  •  ให้พยายามติดต่อสื่อสารกับผู้สอนอย่างสม่ำเสมอ
  • ผู้สอนมักลืมว่าได้มอบเอกสารให้ห้องสมุดเพื่อให้นักศึกษาได้ใช้ บรรณารักษ์ต้องดำเนินการแจ้งให้มารับ หรือ ประสานงานในรูปแบบของการส่งคืนที่ต้องการ หรือจะให้จัดเก็บไว้เพื่อดำเนินการต่อ
การจัดเข้าหน้าที่ คุณสมบัติ
  • ปรับจำนวนผู้บริการตามจำนวนการเข้าใช้ ไม่สามารถกำหนดแน่นอนได้
  • มีทักษะการสื่อสาร การประสานงาน การต่อรอง แลัมีความหยืดหยุ่น
  • มีความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายลิขสิทธิ์
Reserve Card
  • มีการแนบกับเอกสารทุกชิ้น
  • ใช้บัตรต่างสีสำหรับระยะเวลาการยืมที่แตกต่างกัน
Contidenttiality ความลับ and Reserves
  • ไม่เปิดเผยชื่อผู้ยืม เช่นเดียวกับการยืมปกติ
  • ไม่แต้งชื่อผู้ยืมกับผู้สอน
  • ผู้สอนอาจใช้วิธีลงชื่อยืมใช้
การจัดเก็บ
  • ชั้นปิด
  • บริเวณให้บริการยืมคืน
  • บริเวณที่ใกล้เคียงกับบริการยืมคืน
  • หรือมีห้องที่แยกเฉพาะ
แนวโน้มการให้บริการในอนาคต
  • มีเอกสารดิจิทัลให้สามารถปรับเปลี่ยน และมีการแสดงรายการผ่าน OPAC หรือการจัดทำรายการฉบับพิมพ์
  • สามารถเข้าถึงได้ตลอดเวลาและสถานที่
  • มีการป้องกันสิทธิ มี password protected
  • อาจารย์สามารถเสนอเอกสารบน web page ของตัวเองได้