Powered By Blogger

วันอังคารที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2554

การตลาดบริการของห้องสมุด


 สรุป การตลาดบริการห้องสมุด

การตลาดบริการห้องสมุด
สมาคมการตลาดแห่งสหรัฐอเมริกา ได้ให้คำจำกัดของคำว่า "Marketing" ไว้ดังนี้
          การตลาด คือ การกระทำกิจกรรมต่าง ๆ ในทางธุรกิจที่มีผลให้เกิดการนำสินค้าหรือบริการจากผู้ผลิตไปสู่ผู้บริโภคหรือผู้ใช้บริการนั้น ๆ ให้ได้รับความพึงพอใจ ขณะเดียวกัน ก็บรรลุวัตถุประสงค์ของกิจการ
คำจำจัดความที่สำคัญทางการตลาด
   ความจำเป็น (need) หมายถึง สิง่ที่ผู้บริโภคมีความจำเป็นต้องบริโภคปัจจัยพื้นฐานต่างๆเพื่อให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ แบ่งเป็น
  • ความจำเป็นทางด้านร่างกาย (physical needs)อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค ทำให้คนต้องได้มาซึ่งปัจจัยพื้นฐานเหล่านี้ เพื่อตอบสนองความต้องการเหล่านั้น
  • ความจำเป็นของสภาพทางสังคมและอารมณ์ (social and emotional) ได้แก่ การมีเพื่อน และความรู้สึกมั่นคง ปลอดภัย ทำให้เกิดสินค้าและบริการอย่างมากมาย
  • ความต้องการ (want) หมายถึงความปารถนาเพิ่มเติมนอกเหนือจากความจำเป็น เป็นสิ่งที่ทำให้ดำรงชีวิตอยู่อย่างมีความสุขเพราะเกิดจากความพึงพอใจตามความอยากได้ อยากมี อยากเป็น
การจัดการการตลาด 
     กระบวนการวางแผนและปฏิบัติโดยอาศัยแนวคิด การกำหนดราคา และการส่งเริมการตลาด การจัดจำหน่ายสินค้าและบริการเพื่อสร้างสรรค์ให้เกิดการแลกเปลี่ยนที่สามารถสนองความต้องการของบุคคล และบรรลุัวัตถุประสงค์ขององค์กร การจัดการการตลาดนั้นจะเกิดขึ้นได้เมื่อฝ่ายหนึ่งใช้วิธีต่างๆเพื่อตอบสนองความต้องการอีกฝ่ายหนึ่ง 

จุดมุ่งหมายการตลาด
      ให้รู้จักและเข้าใจลูกค้าเป็นอย่างดี เพื่อจัดสินค้าและบริการที่เหมาะสม การตลาดมกจะเกิดผลกับลูกค้าที่พร้อมจะซื้อ ดังนนั้นสินค้าและบริการต้องพร้อมตลอดเวลา

ความสำคัญของแผนการตลาด
  • ให้รายละเอียดของการเริ่มต้นธุกิจ ทำให้ผู้ประกอบการมีเป้าหมายที่ชัดเจนในการดำเินินธุรกิจ 
  • เป็นเครื่ืองมือที่ช่วยให้พนักงานภายในองค์กรมองไปที่เป้าหมายเดียวกัน มีแนวทางในการตัดสินใจและการดำเนินการ
  • ช่วยลดความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจ
  • เป็นเสมือนพิมพ์เขียวกำหนดกิจกรรมต่างๆ และการปฏิบัติงานที่ต่อเนื่องในอนาคตด้วย
การตลาดบริการสารนิเทศธุรกิจ
   การผสมผสายวิธีการตลาดเขิงสังคม และการตลาดเชิงธุรกิจเข้าด้วยกัน กล่าวคือ ผู้ใช้สารนิเทศได้รับสารนิเทศ หรือ บริการสารนิเทศตามความต้องการ เพราะผู้ใ้ห้บริการได้ศึกษาความต้องการของผู้ใช้สารนิเทศและพยายามจัดหาสารนิเทศเพื่อให้บริการโดยสามารถตอบสนองความต้องการให้ผู้ใช้สารนิเทศมีความพอใจเห็นคุณค่าของสานิเทศมากขึ้น

สารนิเทศในรูปของคอมพิวเตอร์
    ผลิตภัณฑ์สารนิเทศที่บันทึกในสื่อคอมพิวเตอร์ การใช้ประโยชน์ต้องใ้ช้เครื่องมือ ได้แก่ คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ เครื่องแปลรหัส สัญญารโทรคมนาคม เครื่องพิมพ์ และซอฟแวร์สำหรับระบบโทรคมนาคม

องค์ประกอบ 4 ประการของวิธีการตลาด
    ผลิตภัณฑ์ หมายถึงสินค้า และบริการที่ผู้ผลิตจัดทำขึ้น ผลิตภัณฑ์สารนิเทศได้แก่ บริการสารนิเทศสื่อสิ่งพิมพ์ หมายถึง หนังสือ วารสาร หนังสืออ้างอิง ดัชนีวารสารและสาระสังเขป  บริการสารนิเทศประกอบไปด้วย บริการที่ผู้บริโภคได้รับผลิตภัณฑ์พร้อมการบริการ 
     ราคา หมายถึงราคาผลิตภัณฑ์ หรือบริการที่สารนิเทศที่ผู้จำหน่ายกำหนดขึ้น ราคาควรมีการกำหนดอย่างสมเหตุสมผล ให้ผู้บริโภคยอมรับว่ามีคุณค่าสมกับคุณภาพจองผลิตภัณฑ์และยินดีที่จะหาซื้อไปบริโภค โดยทั่วไปแล้วผู้บริโภคต้องจ่ายเงินค่าบริการสารสนเทศทั้งในทางตรงและทางอ้อม 
    สถานที่ หมายถึงที่ตั้งสถาบันบริการสารสนเทศ ซึ่งควรอยู่ในที่ติดต่อได้ง่าย สะดวก และตรงตามวัตถุประสงค์ในการบริการ 
แนวคิดส่วนประสมทางการตลาดสำหรับธุรกิจบริการ  ( Service  Marketing  Mix )
          ศิริวรรณ   เสรีรัตน์ (2541) ได้อ้างถึงแนวคิดส่วนประสมทางการตลาดสำหรับธุรกิจบริการ
( Service  Mix ) ของ Philip  Kotler  ไว้ว่าเป็นแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจที่ให้บริการซึ่งจะได้ส่วนประสมการตลาด (Marketing  Mix )หรือ  7Ps  ในการกำหนดกลยุทธ์การตลาดซึ่งประกอบด้วย
1.              ด้านผลิตภัณฑ์  (Product) เป็นสิ่งซึ่งสนองความจำเป็นและความต้องการของมนุษย์ได้คือ  สิ่งที่ผู้ขายต้องมอบให้แก่ลูกค้าและลูกค้าจะได้รับผลประโยชน์และคุณค่าของผลิตภัณฑ์นั้น ๆ  โดยทั่วไปแล้ว  ผลิตภัณฑ์แบ่งเป็น  2  ลักษณะ  คือ ผลิตภัณฑ์ที่อาจจับต้องได้  และ  ผลิตภัณฑ์ที่จับต้องไม่ได้
2.                ด้านราคา  ( Price ) หมายถึง  คุณค่าผลิตภัณฑ์ในรูปตัวเงิน  ลูกค้าจะเปรียบเทียบระหว่างคุณค่า  ( Value )  ของบริการกับราคา  ( Price ) ของบริการนั้น  ถ้าคุณค่าสูงกว่าราคาลูกค้าจะตัดสินใจซื้อ  ดังนั้น การกำหนดราคาการให้บริการควรมีความเหมาะสมกับระดับการให้บริการชัดเจน  และง่ายต่อการจำแนกระดับบริการที่ต่างกัน
3.    ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย  ( Place ) เป็น กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับบรรยากาศสิ่งแวดล้อมในการนำเสนอบริการให้แก่ลูกค้า ซึ่งมีผลต่อการรับรู้ของลูกค้าในคุณค่าและคุณประโยชน์ของบริการที่นำเสนอ  ซึ่งจะต้องพิจารณาในด้านทำเลที่ตั้ง ( Location ) และช่องทางในการนำเสนอบริการ ( Channels )
4.    ด้านส่งเสริมการตลาด  ( Promotion ) เป็นเครื่องมือหนึ่งที่มีความสำคัญในการติดต่อสื่อสารให้ผู้ใช้บริการ  โดยมีวัตถุประสงค์ที่แจ้งข่าวสารหรือชักจูงให้เกิดทัศนคติและพฤติกรรม  การใช้บริการและเป็นกุญแจสำคัญของการตลาดสายสัมพันธ์
5.    ด้านบุคคล  ( People ) หรือพนักงาน ( Employee ) ซึ่งต้องอาศัยการคัดเลือก  การฝึกอบรม  การจูงใจ  เพื่อ ให้สามารถสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าได้แตกต่างเหนือคู่แข่งขันเป็นความ สัมพันธ์ระหว่างเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการและผู้ใช้บริการต่าง ๆ ขององค์กร  เจ้าหน้าที่ต้องมีความสามารถ  มีทัศนคติที่สามารถตอบสนองต่อผู้ใช้บริการ  มีความคิดริเริ่ม  มีความสามารถในการแก้ไขปัญหา  สามารถสร้างค่านิยมให้กับองค์กร
6.    ด้านการสร้างและนำเสนอลักษณะทางกายภาพ (Physical  Evidence and Presentation )  เป็นการสร้างและนำเสนอลักษณะทางกายภาพให้กับลูกค้า  โดยพยายามสร้างคุณภาพโดยรวม  ทั้งทางด้ายกายภาพและรูปแบบการให้บริการเพื่อสร้างคุณค่าให้กับลูกค้า  ไม่ว่าจะเป็นด้านการแต่งกายสะอาดเรียบร้อย  การเจรจาต้องสุภาพอ่อนโยน  และการให้บริการที่รวดเร็ว  หรือผลประโยชน์อื่น ๆ ที่ลูกค้าควรได้รับ
7.    ด้านกระบวนการ ( Process) เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับระเบียบวิธีการและงานปฏิบัติในด้านการบริการ  ที่นำเสนอให้กับผู้ใช้บริการเพื่อมอบการให้บริการอย่างถูกต้องรวดเร็ว  และทำให้ผู้ใช้บริการเกิดความประทับใจ

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น