Powered By Blogger

วันอาทิตย์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2554

กิจกรรมห้องสมุด

สรุป กิจกรรมห้องสมุด (15/08/54)

กิจกรรมห้องสมุด

     ความหมายคือ เป็นงานที่ห้องสมุดจัดขึ้นเป็นครั้งคราว หรือในโอกาสต่างๆโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้ผู้ใช้เข้าใช้ห้องสมุดมากขึ้น และเป็นการส่งเสริมการอ่าน 
       ความสำคัญของกิจกรรมในห้องสมุด เป็นการประชาสัมพันธ์ให้คนรู้จักห้องสมุดมากขึ้น เป็นการกระตุ้นให้ผู้ใช้มาใช้ทรัพยากรห้องสมุดอย่างคุ้มค่า นอกจากนีน้แล้วยังเป็นประโยชน์ในด้านของการส่งเสริมการอ่าน การศึกษาค้นคว้า ซึ่งจะสอดคล้องกับระบบการศึกษาของไทย ที่ต้องการให้มีการศึกษาค้นคว้าตลอดชีวิต 
วัตถุประสงค์ของการจัดกิจกรรมในห้องสมุด
  1. เพื่อประชาสัมพันธ์งานบริการต่างๆในห้องสมุด
  2. เพื่อรณรงค์ให้มีการอ่านหนังสือเพิ่มขึ้น
  3. เพื่อสร้างแรงจูงใจในการอ่านหนังสือที่หลากหลายมากขึ้น
  4. เพื่อเป็นก้าวแรกในการรู้จักศึกษาค้นคว้าสารสนเทศมาใช้จัดกิจกรรมที่มีประสิทธิภาพ
ประเภทของกิจกรรมในห้องสมุด
  1. กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน
  2. กิจกรรมส่งเสริมความรู้เรื่องห้องสมุด
  3. กิจกรรมส่งเสริมการเรียนการสอน
  4. กิจกรรมส่งเสริมความรู้ทั่วไป
  5. กิจกรรมส่งเสริมการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน เป็นกิจกรรมที่สร้างแรงจูงใจให้สมาชิกสนใจในการอ่านและเกิดนิสัยในการอ่าน ได้แก่
  • การเล่านิทาน
  • การออกร้านหนังสือ
  • การตอบปัญหาจากหนังสือ
  • การโต้วาที
กิจกรรมส่งเสริมความรู้เรื่องห้องสมุด เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้ใช้รุกจักค้นคว้าได้ด้วยตนเอง ได้แก่
  • การแนะนำการใช้ห้องสมุด
  • การนำชมห้องสมุด
  • การปฐมนิเทศห้องสมุด
  • การอบรมนักเรียนให้รู้จักช่วยงานห้องสมุด
กิจกรรมส่งเริมการเรียนการสอน เป็นกิจกรรมที่ห้องสมุดจัดขึ้นเพื่อส่งเสริมการเรียนการสอนของแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ ได้แก่
  • การจัดนิทรรศการ
  • การตอบปัญหา
  • การประกวดภาพ
  • การประกวดเรียงความ
กิจกรรมส่งเสริมความรู้ทั่วไป เป็นกิจกรรมที่ห้องสมุดสร้างขึ้นเพื่อเสริมความรู้ให้กับผู้ใช้บริการ
  • การจัดสัปดาห์ห้องสมุด
  • การฉายสื่อมัลติมีเดีย
  • จัดป้ายนิเทศเสริมความรู้
กิจกรรมการส่งเสริมเวลาว่างให้เป็นประโยชน์ เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมเวลาว่างให้เป้นประโยชน์จากการอ่าน ได้แก่
  • การจัดมุมการอ่าน
  • การจัดมุมหนังสือในห้องเรียน
  • การจัดห่องสมุดเคลื่อนที่
การเล่านิทาน (Story telling)
     การเล่านิทานเป็นการส่งเสริมการอ่านประเภทหนึง่ที่ช่วยให้เด็กมีนิสัยในการอ่าน เพราะนิทานมีความสนุกสนาน เพลิดเพลินเพิ่มพูนความรู้ทางภาษา เสริมสร้่างจินตนาการ ผู้เล่าจะต้องพยายามสื่อไปในหนังสือในตัวเล่มให้ได้ และผู้เล่าควรทิ้งท้ายไว้ให้ติดตามต่อไปนักเรียนจะต้องอยากรุ้และหาหนังสือมาอ่านเอง
ประเภทของนิทานที่มีในไทย
  1. นิทานก่อนมีประวัติศาสตร์
  2. นิทานประเภทชาดกในนิบาตชาดก
  3. นิทานประเภทคำกลอน
  4. นิทานนอกนิบาตชาดก
  5. นิทานพื้นเมือง
  6. นิทานประเภทจักรๆวงศ์
  7. นิทานสุภาษิต
  8. นิทานยอพระเกียรติ
การเตรียมตัวก่อนเล่านิทาน
    การเล่านิทานเป็นศิลปะอันจะฝึกฝนได้ ผู้เล่าต้องอ่านเรื่องที่เล่าซ้ำจนขึ้นใจ บางครั้งต้องใช้หนังสือเป็นองค์ประกอบ โดยเฉพาะเมื่อเล่าให้เด็กฟัง

วิธีการเล่านิทาน
  1. จัดให้เด็กนั่งเตรียมสำหรับการฟัง
  2. เล่้าด้วยความมั่นใจ
  3. ใช้ภาษาสำนวนง่ายๆ
  4. ผู้เล่าต้องมองผู้ฟังอย่างทั่วถึง
  5. จิตใจจดจ่อกับเรื่องที่เล่า
  6. สร้างมโนภาพในเรือ่งที่จะเล่า
  7. แสดงท่าทางประกอบในการเล่า
ประโยชน์ที่เด็กจะได้รับจากการเล่านิทาน
  1. รู้จักเลือกอ่านหนังสือ
  2. รุ้จักการแก้ปัญหาให้ตนเองได้
  3. ทำให้เด็กมีประสบการณ์กว้างขวางมากขึ้น
  4. เปิดโอกาสให้เด็กหัวเราะ
  5. ช่วยให้เด็กได้ตัดสินใจว่าเป็นสิ่งที่สังคมของเขายอมรับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น