Powered By Blogger

วันอังคารที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2554

การตลาดบริการของห้องสมุด


 สรุป การตลาดบริการห้องสมุด

การตลาดบริการห้องสมุด
สมาคมการตลาดแห่งสหรัฐอเมริกา ได้ให้คำจำกัดของคำว่า "Marketing" ไว้ดังนี้
          การตลาด คือ การกระทำกิจกรรมต่าง ๆ ในทางธุรกิจที่มีผลให้เกิดการนำสินค้าหรือบริการจากผู้ผลิตไปสู่ผู้บริโภคหรือผู้ใช้บริการนั้น ๆ ให้ได้รับความพึงพอใจ ขณะเดียวกัน ก็บรรลุวัตถุประสงค์ของกิจการ
คำจำจัดความที่สำคัญทางการตลาด
   ความจำเป็น (need) หมายถึง สิง่ที่ผู้บริโภคมีความจำเป็นต้องบริโภคปัจจัยพื้นฐานต่างๆเพื่อให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ แบ่งเป็น
  • ความจำเป็นทางด้านร่างกาย (physical needs)อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค ทำให้คนต้องได้มาซึ่งปัจจัยพื้นฐานเหล่านี้ เพื่อตอบสนองความต้องการเหล่านั้น
  • ความจำเป็นของสภาพทางสังคมและอารมณ์ (social and emotional) ได้แก่ การมีเพื่อน และความรู้สึกมั่นคง ปลอดภัย ทำให้เกิดสินค้าและบริการอย่างมากมาย
  • ความต้องการ (want) หมายถึงความปารถนาเพิ่มเติมนอกเหนือจากความจำเป็น เป็นสิ่งที่ทำให้ดำรงชีวิตอยู่อย่างมีความสุขเพราะเกิดจากความพึงพอใจตามความอยากได้ อยากมี อยากเป็น
การจัดการการตลาด 
     กระบวนการวางแผนและปฏิบัติโดยอาศัยแนวคิด การกำหนดราคา และการส่งเริมการตลาด การจัดจำหน่ายสินค้าและบริการเพื่อสร้างสรรค์ให้เกิดการแลกเปลี่ยนที่สามารถสนองความต้องการของบุคคล และบรรลุัวัตถุประสงค์ขององค์กร การจัดการการตลาดนั้นจะเกิดขึ้นได้เมื่อฝ่ายหนึ่งใช้วิธีต่างๆเพื่อตอบสนองความต้องการอีกฝ่ายหนึ่ง 

จุดมุ่งหมายการตลาด
      ให้รู้จักและเข้าใจลูกค้าเป็นอย่างดี เพื่อจัดสินค้าและบริการที่เหมาะสม การตลาดมกจะเกิดผลกับลูกค้าที่พร้อมจะซื้อ ดังนนั้นสินค้าและบริการต้องพร้อมตลอดเวลา

ความสำคัญของแผนการตลาด
  • ให้รายละเอียดของการเริ่มต้นธุกิจ ทำให้ผู้ประกอบการมีเป้าหมายที่ชัดเจนในการดำเินินธุรกิจ 
  • เป็นเครื่ืองมือที่ช่วยให้พนักงานภายในองค์กรมองไปที่เป้าหมายเดียวกัน มีแนวทางในการตัดสินใจและการดำเนินการ
  • ช่วยลดความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจ
  • เป็นเสมือนพิมพ์เขียวกำหนดกิจกรรมต่างๆ และการปฏิบัติงานที่ต่อเนื่องในอนาคตด้วย
การตลาดบริการสารนิเทศธุรกิจ
   การผสมผสายวิธีการตลาดเขิงสังคม และการตลาดเชิงธุรกิจเข้าด้วยกัน กล่าวคือ ผู้ใช้สารนิเทศได้รับสารนิเทศ หรือ บริการสารนิเทศตามความต้องการ เพราะผู้ใ้ห้บริการได้ศึกษาความต้องการของผู้ใช้สารนิเทศและพยายามจัดหาสารนิเทศเพื่อให้บริการโดยสามารถตอบสนองความต้องการให้ผู้ใช้สารนิเทศมีความพอใจเห็นคุณค่าของสานิเทศมากขึ้น

สารนิเทศในรูปของคอมพิวเตอร์
    ผลิตภัณฑ์สารนิเทศที่บันทึกในสื่อคอมพิวเตอร์ การใช้ประโยชน์ต้องใ้ช้เครื่องมือ ได้แก่ คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ เครื่องแปลรหัส สัญญารโทรคมนาคม เครื่องพิมพ์ และซอฟแวร์สำหรับระบบโทรคมนาคม

องค์ประกอบ 4 ประการของวิธีการตลาด
    ผลิตภัณฑ์ หมายถึงสินค้า และบริการที่ผู้ผลิตจัดทำขึ้น ผลิตภัณฑ์สารนิเทศได้แก่ บริการสารนิเทศสื่อสิ่งพิมพ์ หมายถึง หนังสือ วารสาร หนังสืออ้างอิง ดัชนีวารสารและสาระสังเขป  บริการสารนิเทศประกอบไปด้วย บริการที่ผู้บริโภคได้รับผลิตภัณฑ์พร้อมการบริการ 
     ราคา หมายถึงราคาผลิตภัณฑ์ หรือบริการที่สารนิเทศที่ผู้จำหน่ายกำหนดขึ้น ราคาควรมีการกำหนดอย่างสมเหตุสมผล ให้ผู้บริโภคยอมรับว่ามีคุณค่าสมกับคุณภาพจองผลิตภัณฑ์และยินดีที่จะหาซื้อไปบริโภค โดยทั่วไปแล้วผู้บริโภคต้องจ่ายเงินค่าบริการสารสนเทศทั้งในทางตรงและทางอ้อม 
    สถานที่ หมายถึงที่ตั้งสถาบันบริการสารสนเทศ ซึ่งควรอยู่ในที่ติดต่อได้ง่าย สะดวก และตรงตามวัตถุประสงค์ในการบริการ 
แนวคิดส่วนประสมทางการตลาดสำหรับธุรกิจบริการ  ( Service  Marketing  Mix )
          ศิริวรรณ   เสรีรัตน์ (2541) ได้อ้างถึงแนวคิดส่วนประสมทางการตลาดสำหรับธุรกิจบริการ
( Service  Mix ) ของ Philip  Kotler  ไว้ว่าเป็นแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจที่ให้บริการซึ่งจะได้ส่วนประสมการตลาด (Marketing  Mix )หรือ  7Ps  ในการกำหนดกลยุทธ์การตลาดซึ่งประกอบด้วย
1.              ด้านผลิตภัณฑ์  (Product) เป็นสิ่งซึ่งสนองความจำเป็นและความต้องการของมนุษย์ได้คือ  สิ่งที่ผู้ขายต้องมอบให้แก่ลูกค้าและลูกค้าจะได้รับผลประโยชน์และคุณค่าของผลิตภัณฑ์นั้น ๆ  โดยทั่วไปแล้ว  ผลิตภัณฑ์แบ่งเป็น  2  ลักษณะ  คือ ผลิตภัณฑ์ที่อาจจับต้องได้  และ  ผลิตภัณฑ์ที่จับต้องไม่ได้
2.                ด้านราคา  ( Price ) หมายถึง  คุณค่าผลิตภัณฑ์ในรูปตัวเงิน  ลูกค้าจะเปรียบเทียบระหว่างคุณค่า  ( Value )  ของบริการกับราคา  ( Price ) ของบริการนั้น  ถ้าคุณค่าสูงกว่าราคาลูกค้าจะตัดสินใจซื้อ  ดังนั้น การกำหนดราคาการให้บริการควรมีความเหมาะสมกับระดับการให้บริการชัดเจน  และง่ายต่อการจำแนกระดับบริการที่ต่างกัน
3.    ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย  ( Place ) เป็น กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับบรรยากาศสิ่งแวดล้อมในการนำเสนอบริการให้แก่ลูกค้า ซึ่งมีผลต่อการรับรู้ของลูกค้าในคุณค่าและคุณประโยชน์ของบริการที่นำเสนอ  ซึ่งจะต้องพิจารณาในด้านทำเลที่ตั้ง ( Location ) และช่องทางในการนำเสนอบริการ ( Channels )
4.    ด้านส่งเสริมการตลาด  ( Promotion ) เป็นเครื่องมือหนึ่งที่มีความสำคัญในการติดต่อสื่อสารให้ผู้ใช้บริการ  โดยมีวัตถุประสงค์ที่แจ้งข่าวสารหรือชักจูงให้เกิดทัศนคติและพฤติกรรม  การใช้บริการและเป็นกุญแจสำคัญของการตลาดสายสัมพันธ์
5.    ด้านบุคคล  ( People ) หรือพนักงาน ( Employee ) ซึ่งต้องอาศัยการคัดเลือก  การฝึกอบรม  การจูงใจ  เพื่อ ให้สามารถสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าได้แตกต่างเหนือคู่แข่งขันเป็นความ สัมพันธ์ระหว่างเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการและผู้ใช้บริการต่าง ๆ ขององค์กร  เจ้าหน้าที่ต้องมีความสามารถ  มีทัศนคติที่สามารถตอบสนองต่อผู้ใช้บริการ  มีความคิดริเริ่ม  มีความสามารถในการแก้ไขปัญหา  สามารถสร้างค่านิยมให้กับองค์กร
6.    ด้านการสร้างและนำเสนอลักษณะทางกายภาพ (Physical  Evidence and Presentation )  เป็นการสร้างและนำเสนอลักษณะทางกายภาพให้กับลูกค้า  โดยพยายามสร้างคุณภาพโดยรวม  ทั้งทางด้ายกายภาพและรูปแบบการให้บริการเพื่อสร้างคุณค่าให้กับลูกค้า  ไม่ว่าจะเป็นด้านการแต่งกายสะอาดเรียบร้อย  การเจรจาต้องสุภาพอ่อนโยน  และการให้บริการที่รวดเร็ว  หรือผลประโยชน์อื่น ๆ ที่ลูกค้าควรได้รับ
7.    ด้านกระบวนการ ( Process) เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับระเบียบวิธีการและงานปฏิบัติในด้านการบริการ  ที่นำเสนอให้กับผู้ใช้บริการเพื่อมอบการให้บริการอย่างถูกต้องรวดเร็ว  และทำให้ผู้ใช้บริการเกิดความประทับใจ

 

การประชาสัมพันธ์ห้องสมุด

สรุป การประชาสัมพันธ์ห้องสมุด
การประชาสัมพันธ์ห้องสมุด
    การประชาสัมพันธ์ และ การตลาดมีหน้าที่สัมพันธ์กันอย่าใกล้ชิด หลักการประชาสัมพันธ์คือ เลือกใช้เครื่องมือตลอดจนวิธีการในการประชาสัมพันธ์ให้เหมาะสม และมีประสิทธ์ภาพ ประสิทธิผล ส่วนหน้าที่ของการตลาด คือ การใช้หลักการบริหารทางธุรกิจบางส่วนมาประยุกต์ใช้เพื่อให้ผู้บริโภคเกิดความสนใจ พอใจ และประทับใจกับบริการที่จัดให้ ซึ่งจำเป็นต้องรู้จักการประชาสะมพันธ์อย่างดี เพื่อจะได้นำมาใช้กับการตลาดในงานบริการของห้องสมุด

วัตถุประสงค์ฺของการประชาสัมพันธ์
  1. เพื่อสร้างภาพพจน์ หรือภาพลักษณ์ที่ดีให้กับองค์การ
  2. เพื่อแก้ไขความเข้าใจผิดที่มีต่อองค์การในด้านต่างๆ
  3. เพื่อกระตุ้นความสนใจ
  4. เพื่อสร้างความนิยมแก่ชุมชนในละแวกใกล้เคียง
  5. เพื่อสร้างความนิยมในกลุ่มผู้ปฏิบัติงานในองค์การ
  6. เพื่อชี้แจงและให้บริการแก่ผู้ใช้ห้องสมุด
  7. เพื่อเพิ่มพูนความเป็นมิตรไมตรีจากผู้ที่เกี่ยวข้องกับองค์การ
กระบวนการประชาสัมพันธ์
     กระบวนการประชาสัมพันธ์แบ่งออกเป็น สี่ ขั้นตอน คือ
  1. การวิจัย การรับฟัง (Research-Listening)
  2. การวางแผน การตัดสินใจ (Planing-Decision Making)
  3. การสื่อสาร (Communication)
  4. การประเมินผล (Evaluation)
กลุ่มเป้าหมายของการสื่อสาร
  1. การสื่อสารในองค์การ
  • การสื่อสารจากผู้บังคับบัญชา
  • การสื่อสารจากผู้ใต้บังคับบัญชา
  • การสื่อสารจากผู้ร่วมงานระดับเดียวกัน
  • การสื่อสารต่างระดับสายงาน
    2. การสื่อสารภายนอกองค์การ
     สามารถทำได้สองวิธ๊ คือ การสื่อสารที่สถาบันควบคุมได้ กับ การสื่อสารผ่านสื่อมวลชน

หลักในการสื่อสาร
  1. ความถูกต้องน่าเชื่อถือ ของสารและบุคคลผู้ส่งสาร
  2. ความเหมาะสมของเนื้อหาสาระ
  3. ความแจ่มแจ้ง
  4. ความเหมาะสมกับกาลเทศะ
  5. ความต่อเนื่องสม่ำเสมอ
  6. ความเหมาะสมในการใช้สื่อ
  7. ความสามารถของผู้รับสาร
การวางแผนประชาสัมพันธ์
    การกำหนดวิธีการปฏิบัติเพื่อใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานนั้นๆมีความสอดคล้องต่อเนื่องเพื่อบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ โดยการประชาสัมพันธ์นั้นมีความสำคัญในเรื่องต่างๆต่อไปนี้
  1. ช่วยสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างสถาบัน
  2. เป็นกลไกในการสร้างภาพลักษณ์ที่ดี
  3. ช่วยผลักดันให้การดำเนินงานของสถาบัน องค์การ ไปได้ด้วยดี
  4. เป็นกลไกในการชักจูงโน้มน้าวใจ
  5. เป็นเครื่องมือสื่อสารทางการตลาดในองค์การ
  6. เป็นเครื่องมือในการแก้ปัญหาในสถาบันต่างๆที่เกิดขึ้น
ภาพลักษณ์ขององค์การ

    Philip Kotler (2000:553) ปรมาจารย์ด้านการตลาดอธิบายถึงคำ ภาพลักษณ์ (Image) ว่า เป็นองค์รวมของความเชื่อ ความคิด และความประทับใจที่บุคคลมีต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งทัศนคติและการกระทำใด ๆ ที่คนเรามีต่อสิ่งนั้น จะมีความเกี่ยวพันอย่างสูงกับภาพลักษณ์ของสิ่งนั้น ๆ

การเกิดภาพลักษณ์
   ภาพลักษณ์เกิดขึ้นได้ สอง ลักษณะคือ
  1. ภาพลักษณ์ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและสภาพแวดล้อม โดยที่สถาบันไม่ได้ดำเนินการใดๆ
  2. ภาพลักษณ์ที่เกิดจากกระบวนการสร้างภาพลักษณ์ตามที่สถาบัน องค์การ ต้องการจะเป็น


วันจันทร์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2554

การเล่าหนังสือ

สรุปการเล่าหนังสือ (Book talk) (15/08/54)

การเล่าหนังสือ (Book talk)
   การเล่าหนังสือเป็นการนำหนังสือมาพูดให้ผู้ฟังเกิดความสนใจ โดยเลือกจุดเด่นของหนังสือมาเล่า พน้อมทั้งมีหนังสือมาแสดงขณะนั้นด้วย

การเตรียมการและวิธีเล่าหนังสือ
  1. เลือกหนังสือ
  2. พิจารณาจำนวนผู้ฟัง ระหว่างเด็กหญิงเด็กชาย
  3. พิจารณาภูมิหลังของผู้ฟัง
  4. จัดหัวข้อเรื่องทีจะเล่า กำหนดจำนวนหนังสือที่จะนำมาเล่าในหัวข้อนั้นๆ
  5. กำหนดเวลาในการเล่า
  6. ทำโน๊ตเกีย่วกับเรื่องที่จะพูด 
  7. บางครั้งใช้วิธีอ่านก็ได้
การวิจารณ์หนังสือ (Book review)
     การวิจารณ์หนังสือเป็นการพิจารณาหนังสือเกี่ยวกับลักษณะการเขียนเนื้อหาว่ามีข้อดีเด่น ประทับใจ หรือให้ความรุ้ ข้อคิดในเรื่องใด มีข้อบกพร่อง หรือ จุดอ่อนอยู่ในวิธีเขียน หรือ เนื้อหาสาระของเรื่องในตอนใดบ้าง

จุดประสงค์ของการจัดการวิจารณ์หนังสือในห้องสมุด
  1. ส่งเสริมให้มีการอ่านหนังสือที่มีคุณค่ามากขึ้น
  2. ส่งเสริมให้มีวิจารณญาณในการอ่าน
  3. เป็นการแนะนำหนังสือที่ดีในการอ่าน
 ลักษณะของนักวิจารณ์ที่ดี
  1. เป็นนักอ่าน หรือชอบอ่านอย่างมีวิจารณญาณ
  2. เป็นผู้พยายามศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับเรื่องของหนังสือ วิธีการวิจารณ์
  3. ควรได้ศ฿กษาชีวิตและงานของนักเขียน ทัศนคติที่ปรากฏเด่นชัดในงานประพันธ์ ลีลาการเขียน และควรศึกษาผลงานอื่นๆของผู้เขียนด้วย
  4. มีความสามารถในการอ่านและมีวิจารณญาณอันดี
  5. มีใจเป็นกลาง
การจัดนิทรรศการ (Library display)
    เป็นการแสดงผลงานการศึกษาอย่างหนึ่งด้วยการแสดงงานให้ชม อาจมีผู้บรรยายให้ฟัง หรือไม่มีก็ได้ จะใช้สถานที่ในอาคาร หรือนอกอาคารก็ได้ การจัดนิทรรศการนั้น จะต้องจัดอย่างมีระเบียบเรียบร้อย ดูง่าย คำนึงถึงความแจ่มชัด ก่อให้เกิดความรู้

วัตถุประสงค์ในการจะดนิทรรศการของห้องสมุด
  1. กระตุ้นให้เกิดความสนใจในหนังสือ การอ่าน
  2. แสดงให้ผู้ใช้ทราบว่า บริการของห้องสมุด และทรัพยากรของห้องสมุดจะช่วยคนในชุมชนอย่างไร
  3. แจ้งข่าวคราวความเคลื่อนไหวในห้องสมุด และเหตุการณืความเป็นไปของโลกภายนอกให้ผู้ใช้ทราบ
  4. เชิญชวนให้ผู้ใช้เข้าถึงห้องสมุดได้มากขึ้น
  5. เพื่อจัดบรรยากาศห้องสมุดให้สดใส
ความรู้ที่บรรณารักษ์พึงมีเพื่อประโยชน์ในการจัดนิทรรศการที่ดี
  1. ความรุ้เรื่องศิลปะ
  2. ความรู้ในสาระของข้อมูลแต่ละเรื่อง
  3. มีความคิดสร้างสรรค์
  4. มีความเข้าใจในองค์ประกอบของศิลปะ
การแบ่งประเภทนิทรรศการ
  1. นิทรรศการใหญ่
  2. นิทรรศการย่อย
  3. นิทรรศการให้คำแนะนำโดยตรง
  4. นิทรรศการให้ความรู้
  5. นิทรรศการหนังสือ
  6. นิทรรศการเทศการและวันสำคัญ

วันอาทิตย์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2554

กิจกรรมห้องสมุด

สรุป กิจกรรมห้องสมุด (15/08/54)

กิจกรรมห้องสมุด

     ความหมายคือ เป็นงานที่ห้องสมุดจัดขึ้นเป็นครั้งคราว หรือในโอกาสต่างๆโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้ผู้ใช้เข้าใช้ห้องสมุดมากขึ้น และเป็นการส่งเสริมการอ่าน 
       ความสำคัญของกิจกรรมในห้องสมุด เป็นการประชาสัมพันธ์ให้คนรู้จักห้องสมุดมากขึ้น เป็นการกระตุ้นให้ผู้ใช้มาใช้ทรัพยากรห้องสมุดอย่างคุ้มค่า นอกจากนีน้แล้วยังเป็นประโยชน์ในด้านของการส่งเสริมการอ่าน การศึกษาค้นคว้า ซึ่งจะสอดคล้องกับระบบการศึกษาของไทย ที่ต้องการให้มีการศึกษาค้นคว้าตลอดชีวิต 
วัตถุประสงค์ของการจัดกิจกรรมในห้องสมุด
  1. เพื่อประชาสัมพันธ์งานบริการต่างๆในห้องสมุด
  2. เพื่อรณรงค์ให้มีการอ่านหนังสือเพิ่มขึ้น
  3. เพื่อสร้างแรงจูงใจในการอ่านหนังสือที่หลากหลายมากขึ้น
  4. เพื่อเป็นก้าวแรกในการรู้จักศึกษาค้นคว้าสารสนเทศมาใช้จัดกิจกรรมที่มีประสิทธิภาพ
ประเภทของกิจกรรมในห้องสมุด
  1. กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน
  2. กิจกรรมส่งเสริมความรู้เรื่องห้องสมุด
  3. กิจกรรมส่งเสริมการเรียนการสอน
  4. กิจกรรมส่งเสริมความรู้ทั่วไป
  5. กิจกรรมส่งเสริมการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน เป็นกิจกรรมที่สร้างแรงจูงใจให้สมาชิกสนใจในการอ่านและเกิดนิสัยในการอ่าน ได้แก่
  • การเล่านิทาน
  • การออกร้านหนังสือ
  • การตอบปัญหาจากหนังสือ
  • การโต้วาที
กิจกรรมส่งเสริมความรู้เรื่องห้องสมุด เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้ใช้รุกจักค้นคว้าได้ด้วยตนเอง ได้แก่
  • การแนะนำการใช้ห้องสมุด
  • การนำชมห้องสมุด
  • การปฐมนิเทศห้องสมุด
  • การอบรมนักเรียนให้รู้จักช่วยงานห้องสมุด
กิจกรรมส่งเริมการเรียนการสอน เป็นกิจกรรมที่ห้องสมุดจัดขึ้นเพื่อส่งเสริมการเรียนการสอนของแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ ได้แก่
  • การจัดนิทรรศการ
  • การตอบปัญหา
  • การประกวดภาพ
  • การประกวดเรียงความ
กิจกรรมส่งเสริมความรู้ทั่วไป เป็นกิจกรรมที่ห้องสมุดสร้างขึ้นเพื่อเสริมความรู้ให้กับผู้ใช้บริการ
  • การจัดสัปดาห์ห้องสมุด
  • การฉายสื่อมัลติมีเดีย
  • จัดป้ายนิเทศเสริมความรู้
กิจกรรมการส่งเสริมเวลาว่างให้เป็นประโยชน์ เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมเวลาว่างให้เป้นประโยชน์จากการอ่าน ได้แก่
  • การจัดมุมการอ่าน
  • การจัดมุมหนังสือในห้องเรียน
  • การจัดห่องสมุดเคลื่อนที่
การเล่านิทาน (Story telling)
     การเล่านิทานเป็นการส่งเสริมการอ่านประเภทหนึง่ที่ช่วยให้เด็กมีนิสัยในการอ่าน เพราะนิทานมีความสนุกสนาน เพลิดเพลินเพิ่มพูนความรู้ทางภาษา เสริมสร้่างจินตนาการ ผู้เล่าจะต้องพยายามสื่อไปในหนังสือในตัวเล่มให้ได้ และผู้เล่าควรทิ้งท้ายไว้ให้ติดตามต่อไปนักเรียนจะต้องอยากรุ้และหาหนังสือมาอ่านเอง
ประเภทของนิทานที่มีในไทย
  1. นิทานก่อนมีประวัติศาสตร์
  2. นิทานประเภทชาดกในนิบาตชาดก
  3. นิทานประเภทคำกลอน
  4. นิทานนอกนิบาตชาดก
  5. นิทานพื้นเมือง
  6. นิทานประเภทจักรๆวงศ์
  7. นิทานสุภาษิต
  8. นิทานยอพระเกียรติ
การเตรียมตัวก่อนเล่านิทาน
    การเล่านิทานเป็นศิลปะอันจะฝึกฝนได้ ผู้เล่าต้องอ่านเรื่องที่เล่าซ้ำจนขึ้นใจ บางครั้งต้องใช้หนังสือเป็นองค์ประกอบ โดยเฉพาะเมื่อเล่าให้เด็กฟัง

วิธีการเล่านิทาน
  1. จัดให้เด็กนั่งเตรียมสำหรับการฟัง
  2. เล่้าด้วยความมั่นใจ
  3. ใช้ภาษาสำนวนง่ายๆ
  4. ผู้เล่าต้องมองผู้ฟังอย่างทั่วถึง
  5. จิตใจจดจ่อกับเรื่องที่เล่า
  6. สร้างมโนภาพในเรือ่งที่จะเล่า
  7. แสดงท่าทางประกอบในการเล่า
ประโยชน์ที่เด็กจะได้รับจากการเล่านิทาน
  1. รู้จักเลือกอ่านหนังสือ
  2. รุ้จักการแก้ปัญหาให้ตนเองได้
  3. ทำให้เด็กมีประสบการณ์กว้างขวางมากขึ้น
  4. เปิดโอกาสให้เด็กหัวเราะ
  5. ช่วยให้เด็กได้ตัดสินใจว่าเป็นสิ่งที่สังคมของเขายอมรับ

วันอังคารที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

บริการข่าวสารที่ทันสมัย Current Awareness Service CAS

สรุป บริการข่าวสารที่ทันสมัย Current Awareness Service CAS (19/07/54)

บริการข่าวสารที่ทันสมัย Current Awareness Service CAS

ความหมาย 
    Van Brakel (1997:127) บริการช่วยให้ผู้ใช้ได้รับข่าวสารทันสมัยและการปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในสาขาที่สนใจ
   Hamiton(1995:3) บริการสารสนเทศที่ทันสมัย เป้นยริการแจ้งให้ผู้ใช้ทราบถึงข้อสนเทศใหม่ๆ ความสนใจของผู้ใช้ทันทีที่สถาบันนั้นๆ ได้รับทรัพยากรสารสนเทศ หีือทราบว่ามีสารสนเทศนั้นเกิดขึ้นในรุปแบบที่หลากหลาย จากสารสนเทศสิ่งพิมพ์ หนังสือ วารสาร เอกสารการประชุม วิทยานิพนธ์ สารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ สื่อประสม

ปรัชญาการบริการ
    เอกสารที่ต้องการ สำหรับบุคคลที่ใช้ ในเวลาที่ทัน

วัตถุประสงค์ (Fourie,1999)
    ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ได้ตามความต้องการ

รูปแบบของการบริการ CAS 
    เดิม การเสียนเอกสาร หรือจัดส่งโดยตรงโดย
  • สำเนาหน้าปก สำเนาสารบาญ หรือหน้าแรกของบทความ สาระสังเขป
  • ตัดข่าวหน้าหนังสือพิมพ์ส่ง หรือ สรุปข่าว
  • นำเสนอจดหมายข่าว Newsletter
งาน CAS ใช้เวลาในการจัดทำมากจึงเริ่มมีการนำมาแทรกในเทคโนโลยีสารสนเทศมากขึ้นในการใช้การบริการ

ผู้นำฐานข้อมูลเริ่มจัดทำบริการเสริมการใช้ฐานข้อมูล เช่น
  • ingenta จะให้บริการส่งบทความใหม่ทุกอาทิตย์ในหัวข้อที่ผู้ใช้บริการสนใจ
  • Emerald จัดทำบริการจดหมาย TOC และแจ้งบทความใหม่ในเรื่อง/หัวข้อที่ผู้ใช้กำหนด แจ้งทาง E-mail 
  • Google จัดบริการ Alert แต้งบทความใหม่ในเรื่อง/หัวข้อที่ผู้ใช้กำหนด/แจ้งทาง E-mail
การเขียนเอกสารแบบเดิม
สามารถทำได้ 3 วิธี
  1. ส่งโดยตรงจากผู้ใช้ต่อๆกันไป
  2. แบ่งผู้ใช้ออกเป็นกลุ่มเล็กๆ
  3. จัดส่งโดยตรงไปยังผู้ใช้แต่ละคน
ข้อควรปฏิบัติในการเวียนเอกสาร
  1. ไม่ควรจัดบริการแก้สมาชิกใหม่
  2. ไปเยี่ยมผู้ใช้ ณ ที่บริการเป้นครั้งคราว เพื่อเป็นการกระตุ้นให้ผู้ใช้ส่งเอกสารไวขึ้น
  3. จัดลำดับให้ผู้ใช้รับเอกสารก่อนหลังสลับกันบ้าง
ข้อดีของการเวียนวารสาร คือ
  • เป็นการกระจายสารสนเทศไปสู่ผู้ช้ที่แน่นอน โดยเฉพาะผู้ใช้ที่อยู่ห่างไกลจากแหล่งสารสนเทศ
  • ให้โอกาศผู้ใช้ได้เห็นเนื้อหาของเอกสาร แต่ละรายการรวมทั้งข่าวหรือโฆษณาในเอกสาร
ข้อด้อย คือ
  • ผู้ใช้ที่ได้เอกสารคนสุดท้าย อาจได้รับสารสนเทศที่ล้าสมัยแล้ว
  • เสี่ยงต่อการชำรุดเสียหานของเอกสาร
  • เพิ่มภาระของงานมากขึ้น
การจัดแสดงทรัพยากรสารสนเทศใหม่
   เป็นการนำสารสนเทศที่เข้ามาใหม่จัดแสดงในระยะเวลาที่เหมาัะสม
ระยะเวลาในการแสดง
  • ส่วนใหญ่แล้วประมาณ 2 สัปดาห์
  • บางแห่งจะใช้วิธีทยอยออกมาแสดง
  • บางแห่งรวมนำมาออกแสดงครั้งเดียว
การอนุญาติให้ใช้ในขณะจัดแสดง
การจัดแสดงสามารถให้ยืมสารสนเทศได้
การดำเนินการทางด้านเทคนิค
   ทรัพยากรสารสนเทศที่นำมาแสดงส่วนใหญ่เป็นทัพยากรทางเทคนิคเรียบร้อยแล้วดังนั้นจึงควรพิจารณาด้วยว่าเป็นทรัพยากรสารสนเทศประเภทใด หรือรายการใด ควรนำจัดแสดงก่อนหรือหลังดำเนินการด้านเทคนิค

โทรคมนาคม (Telecomms)
  โทรศัพท์ คิมพิวเตอร์ มือถือ Voice-mail หรือ E-mail
ข้อดี
  ผู้ใช้คุ้นเคยกับการสื่อสารด้วยคำพูด บางครั้งผู้รับ ชอบฟังมากกว่าผู้อ่าน ถ้าสิง่ที่ฟังเป็นประโยชน์

วันอาทิตย์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

บริการสอนการใช้ (Instruction services)

สรุป บริการสอนการใช้ (Instruction services) (10/07/54)

บริการสอนการใช้ (Instruction services)

สมาคมห้องสมุดอเมริกันได้กำหนดไว้คือ
   หน้าที่ของห้องสมุดทุกประเภท คือต้องจัดการให้ผู้ใช้มีโอกาสเข้าใจในระบบการจัดการสารสนเทศ การแนะนำการใช้ห้องสมุดถือเป็นหลักการแรกในการให้บริการ 
   ช่วยให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงสารสนเทศได้ด้วยตนเอง เป็นการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต(Life Learning) ซึ่งไม่เพียงแต่เป็นการช่วยค้นหาสารสนเทศเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการเรียนรู้วิธีค้นสารสนเทศด้วยตนเองต่อไปในอนาคตอีกด้วย

Literacy
   มีความหมายครอบคลุมเพียงการอ่านออกเขียนได้ คิดเลขเป็นพอใช้ ชีวิตอยู่ในสังคมปัจจุบันได้ (ชุติมา สัจจานันท์,2550,น.27)

Information Literacy
    การรู้สารสนเทศ หมายถึง ความรู้ ทักษะความสามารถของบุคคลในการตระหนักถึงความต้องการสารเสนเทศ การเข้าถึงสารสนเทศและแหล่งสารสนเทศ การประเมินสารสนเทศ และการนำสารสนเทศไปใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ตนเองและส่วนรวม

นอกจากนี้แล้วยังมีคุณสมบัติอื่นๆอีกคือ

Computer literacy
     ทักษะการรู้สารสนเทศการรู้คอมพิวเตอร์ หมายถึงการที่บุคคลมีความรู้ความเข้าใจ คุณสมบัติระบบ และการประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ให้เกิดประโยชน์กับงานของตนเองเข้ามาด้วย เนื่องจากเห็นว่าคอมพิวเตอร์เป็นสื่อกลางในการจัดการสารสนเทศ และการเข้าถึงสารสนเทศ รวมทั้ง การนำมาใช้งานในชีวิตประจำวันเพิ่มขึ้น

Library literacy
     การรู้ห้องสมุด ผู้เรียนต้องรู้ว่า ห้องสมุดเป็นแหล่งรวบรวมสารสนเทศในสาขาวิชาต่างๆ ไว้ในรูปแบบที่หลากหลายทั้งในรูปสื่อสิ่งพิมพ์ สื่อโสตทัศน์ และสื่ออิเลกทรอนิกส์ รู้วิธีการจัดเก็บสื่อ รู้จักใช้เครื่องมือช่วยค้นต่างๆ รู้จักกลยุทธ์ในการค้นคืนสารสนเทศแต่ละประเภท รวมทั้งบริการต่างๆ ของห้องสมุด โดยเฉพาะห้องสมุดของสถาบันการศึกษาที่ผู้เรียนกำลังศึกษาอยู่จะต้องรู้จัก อย่างลึกซึ้งในประเด็นต่างๆ ดังกล่าวแล้ว การรู้ห้องสมุดครอบคลุมการรู้แหล่งสารสนเทศอื่นๆด้วย

Network Literacy
     การรู้เครือข่าย ผู้เรียนต้องรู้ขอบเขตและมีความสามารถในการใช้สารสนเทศทางเครือข่ายที่ เชื่อมโยงถึงกันทั่วโลก สามารถใช้กลยุทธ์การสืบค้นสารสนเทศจากเครือข่าย และการบูรณาการสารสนเทศจากเครือข่ายกับสารสนเทศจากแหล่งอื่นๆ
  
Visual Literacy  
    การรู้เกี่ยวกับสิ่งที่เห็น ผู้เรียนสามารถเข้าใจและแปลความหมายสิ่งทีเห็นได้รวมถึงความสามารถในการคิด วิเคราะห์ การเรียนรู้ การแสดงความคิดเห็น และสามารถใช้สิ่งที่เห็นนั้นในการทำงานและการดำรงชีวิตประจำวันของตนเองได้ เช่น สัญลักษณ์บุหรี่ และ มีเครื่องหมายกากบาททาบอยู่ด้านบนหมายถึง ห้ามสูบบุหรี่ สัญลักษณ์ผู้หญิงอยู่หน้าห้องน้ำ หมายถึง ห้องน้ำสำหรับสตรี เป็นต้น 

Media Literacy  
  การรู้สื่อ ผู้เรียนต้องสามารถเข้าถึง วิเคราะห์ และผลิตสารสนเทศจากสื่อต่างๆ เช่น โทรทัศน์ ภาพยนตร์ วิทยุ ดนตรี หนังสือพิมพ์ นิตยสาร เป็นต้น รู้จักเลือกรับสารสนเทศจากสื่อที่แตกต่างกัน รู้ขอบเขตและการเผยแพร่สารสนเทศของสื่อ เข้าใจถึงอิทธิพลของสื่อ และ สามารถพิจารณาตัดสินได้ว่าสื่อนั้นๆ มีความน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงไร 

Digital Literacy  
    การรู้สารสนเทศดิจิทัล ผู้เรียนสามารถเข้าใจและใช้สารสนเทศรูปแบบซึ่งนำเสนอในรูปดิจิทัลผ่าน เครื่องคอมพิวเตอร์ ตัวอย่างการรู้สารสนเทศดิจิทัล เช่น สามารถดาวน์โหลดไฟล์ข้อมูลจากแหล่งทรัพยากรสารสนเทศที่เข้าถึงในระยะไกลมา ใช้ได้ รู้ว่าคุณภาพสารสนเทศที่มาจากเว็บไซต์ต่างๆ แตกต่างกันรู้ว่าเว็บไซต์น่าเชื่อถือและเว็บไซต์ไม่น่าเชื่อถือ รู้จักโปรแกรมการค้นหา สามารถสืบค้นโดยใช้การสืบค้นขั้นสูง รู้เรื่องของกฎหมายลิขสิทธิ์ที่คุ้มครองทรัพยากรสารสนเทศบนเว็บไซต์ การอ้างอิงสารสนเทศจากเว็บไชต์ เป็นต้น 
  
Language Literacy 
  การมีความรู้ด้านภาษา ผู้เรียนมีความสามารถกำหนดคำสำคัญสำหรับการค้น ในขั้นตอนการค้นคืนสารสนเทศที่สำคัญอย่างยิ่งก็คือ การค้นสารสนเทศจาก
อินเตอร์ เนต และการนำเสนอสารสนเทศที่ค้นมาได้ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยเฉพาะภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่จำเป็นมากที่สุด เนื่องจากเป็นภาษาสากล และสารสนเทศส่วนใหญ่เผยแพร่เป็นภาษาอังกฤษ
 

Critical Thinking 
   การคิดอย่างมีวิจารณญาณ ผู้เรียนสามารถคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ ตัดสินใจเลือกรับสารสนเทศที่นำเสนอไว้หลากหลาย โดยการพิจารณาทบทวนหาเหตุผล จากสิ่งที่เคยจดจำ คาดการณ์ โดยยังไม่เห็นคล้อยตามสารสนเทศที่นำเสนอเรื่องนั้นๆ แต่จะต้องพิจารณาใคร่ครวญไตร่ตรองด้วยความรอบคอบและมีเหตุผลว่าสิ่งใดสำคัญ มีสาระก่อนตัดสินใจเชื่อ จากนั้นจึงดำเนินการแก้ปัญหา 

Information Ethic 
    การมีจริยธรรมทางสารสนเทศ การสร้างผู้เรียนให้เป็นคนดี มีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณ มีความสำคัญและเป็นเป้าหมายหลักของการจัดการศึกษา เพื่อปลูกฝังผู้เรียนให้รู้จักใช้สารสนเทศโดยชอบธรรมบนพื้นฐานของจริยธรรม ทางสารสนเทศ เช่น การนำข้อความหรือแนวคิดของผู้อื่นมาใช้ในงานของตนจำเป็นต้องอ้างอิงเจ้าของ ผลงานเดิม การไม่นำข้อมูลที่ขัดต่อศีลธรรมและจรรยาบรรณของสังคมไปเผยแพร่ เป็นต้น  
แหล่งอ้างอิง : คณาจารย์ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัย
ศรีนครินทรวิโรฒ.//(2548).ทักษะการรู้สารสนเทศ.//พิมพ์ครั้งแรก.//กรุงเทพฯ: ภาควิชา
บรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 



การส่งเสริมการเรียนรุ้ในสถาบันอุดมศึกษา
      การพัฒนาให้ผู้ใช้เป็นผู้รู้สารสนเทศ จำเป็นต้องเร่งดำเนินการปูพื้นฐานตั้งแต่การศึกษาระดับต้น และต่อเนื่องถึงระดับอุดมศึกษา (Bruce,2002)
     ประเทศต่างๆจึงกำหนดให้ทักษะการเรียนรู้สารสนเทศ เป้นทักษะหนึงที่ต้องพัฒนาให้เกิดขึ้นในตัวผู้เรียน นอกเหนือจากการเรียนรุ้ในสาขาวิชาด้านต่างๆ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาการเรียนการสอน
      จัดทำเกณฑ์ และแบบทดสอบใช้ 3 มาตรฐาน ด้วยกัน คือ 
  1. สหรัฐอเมริกา Association of college and Research Library 
  2. สถาบันสากล Education testing service (ETS)
ห้องสมุดและการส่งเสริมการรู้สารสนเทศ
      เรียกได้หลากหลาย เช่น การแนะนำห้องสมุด/นำชม (Library Orientation) การสอนการเข้าถึงบรรณานุกรม (Bibliographic Instruction) การให้การศึกษาผู้ใช้ (Users Education) หรือการฝึกทักษะการเรียนรู้ (Information skills training)


การบริการสอนการใช้ห้องสมุดจะจดบริการ 2 ลักษณะ คือ บริการเฉพาะ (One-to-One Instruction) ให้บริการเป็นกลุ่ม (Group Instuction)
  •  นำชมห้องสมุดเกี่ยวกับ ลักษณะทางกายภาพห้องสมุด เจ้าหน้าที่ห้องสมุด เป็นต้น
  • บริการสอนการใช้เครื่องมือช่วยค้นหา
  • บริการสอนการค้นคว้า

วันอังคารที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

บริการนำส่งเอกสาร

สรุป บริการนำส่งเอกสาร (06/07/54)

บริการนำส่งเอกสาร

      การจัดหาเอกสารที่ผู้ใช้ต้องการทั้งเอกสารที่พิมพ์เผยแพร่และไม่ได้พิมพ์เผยแพร่ ซึ่งจัดส่งอยู้ในรูปแบบของกระดาษ และวัสดุย่อส่วน หรือเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ ด้วยวิธีการส่งที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งมีการคิดค่าบริการส่งสำหรับผู้ใช้
        บริการที่เกี่ยวข้องกับลิขสิทธิ์ที่ผู้บริการนำส่งต้องขออนุญาตผู้มีสิทธิ์ในผลงานนั้น และเสียค่าลิขสิทธิ์ให้ถูกต้องก่อนการทำสำเนาและส่งถึงลูกค้า

บริการนำส่งสารสนเทศ (Document Delivery)
        
         บริการเสริมที่ ILL มีเครือข่าย และนอกเหนือเครือข่ายที่ไม่มีให้บริการ
  • หนังสือ บทในหนังสือ บทความวารสาร รายงานการประชุม
  • รวมถึงการติดต่อให้ได้มาซึ่งเอกสารที่ผู้ใช้ต้องการจากผู้จัดจำหน่าย เช่น วารสารที่มีราคาสูงมาก จะมีการใช้บริการเป็นครั้งๆ เมื่อต้องการ
  • การจัดการให้ผู้ใช้ได้เอกสารผ่านทางฐานข้อมูล
ปรัชญาการบริการ
  • มีการตอบสนองความต้องการของผู้ใช้
  • เพิ่มศักยภาพในการบริการผู้ใช้
  • มีการแก้ปัญหาในการบริการในด้านต่างๆเสมอ
  • ไม่มีห้องสมุดใดที่มีทรัพยากรสารสนดเทศครบตามที่ผู้ใช้ต้องการ
  • มีงบประมาณลดลง ผู้ใช้ถูกจำกัดการใช้
วิธีการนำส่ง 
        มีการนำส่งทั้งภายใน และภายนอก
  1. ส่งทางไปรษณีย์
  2. ทางโทรสาร
  3. ยานพาหนะ
       Electronic Document delivery Services = เร็ว
  1. ทาง E-mail
  2. นำส่งด้วยภาพลักษณ์เอกสาร (Document image system) ซึ่ง Prospero เป็นโปรแกรม OSS ใช้ในการส่งเอกสารแนบ tiff file ซึงไม่สามารถ copy ได้ 
ผู้้ให้บริการ
สถาบันบริการสารสนเทศ
  1. จัดส่งในสถาบัน
  • ทาง E-mail
  • ทางยานพาหนะ
  • ทางระบบออนไลน์ e-office
  2. การจัดส่งระหว่างสถาบันควรมีข้อตกลงร่วมกันระหว่างตัวแทนจัดหาและการจัดส่งเอกสาร
  3. ผู้ให้บริการทั่วไป
  4. ผู้ให้บริการเฉพาะด้านสาขา
  5. ผู้ให้บริการที่เป้นสำนักพิมพ์
  6. ผู้ให้บริการที่เป็นผู้จัดจำหน่ายฐานข้อมูล
  7. ผู้ให้บริการที่้เป็นนายหน้าค้าสารสนเทศ

การบริการ
  • การบริการแบบปกติทั่วไป
  • การบริการแบบออนไลน์