Powered By Blogger

วันอาทิตย์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

บริการสอนการใช้ (Instruction services)

สรุป บริการสอนการใช้ (Instruction services) (10/07/54)

บริการสอนการใช้ (Instruction services)

สมาคมห้องสมุดอเมริกันได้กำหนดไว้คือ
   หน้าที่ของห้องสมุดทุกประเภท คือต้องจัดการให้ผู้ใช้มีโอกาสเข้าใจในระบบการจัดการสารสนเทศ การแนะนำการใช้ห้องสมุดถือเป็นหลักการแรกในการให้บริการ 
   ช่วยให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงสารสนเทศได้ด้วยตนเอง เป็นการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต(Life Learning) ซึ่งไม่เพียงแต่เป็นการช่วยค้นหาสารสนเทศเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการเรียนรู้วิธีค้นสารสนเทศด้วยตนเองต่อไปในอนาคตอีกด้วย

Literacy
   มีความหมายครอบคลุมเพียงการอ่านออกเขียนได้ คิดเลขเป็นพอใช้ ชีวิตอยู่ในสังคมปัจจุบันได้ (ชุติมา สัจจานันท์,2550,น.27)

Information Literacy
    การรู้สารสนเทศ หมายถึง ความรู้ ทักษะความสามารถของบุคคลในการตระหนักถึงความต้องการสารเสนเทศ การเข้าถึงสารสนเทศและแหล่งสารสนเทศ การประเมินสารสนเทศ และการนำสารสนเทศไปใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ตนเองและส่วนรวม

นอกจากนี้แล้วยังมีคุณสมบัติอื่นๆอีกคือ

Computer literacy
     ทักษะการรู้สารสนเทศการรู้คอมพิวเตอร์ หมายถึงการที่บุคคลมีความรู้ความเข้าใจ คุณสมบัติระบบ และการประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ให้เกิดประโยชน์กับงานของตนเองเข้ามาด้วย เนื่องจากเห็นว่าคอมพิวเตอร์เป็นสื่อกลางในการจัดการสารสนเทศ และการเข้าถึงสารสนเทศ รวมทั้ง การนำมาใช้งานในชีวิตประจำวันเพิ่มขึ้น

Library literacy
     การรู้ห้องสมุด ผู้เรียนต้องรู้ว่า ห้องสมุดเป็นแหล่งรวบรวมสารสนเทศในสาขาวิชาต่างๆ ไว้ในรูปแบบที่หลากหลายทั้งในรูปสื่อสิ่งพิมพ์ สื่อโสตทัศน์ และสื่ออิเลกทรอนิกส์ รู้วิธีการจัดเก็บสื่อ รู้จักใช้เครื่องมือช่วยค้นต่างๆ รู้จักกลยุทธ์ในการค้นคืนสารสนเทศแต่ละประเภท รวมทั้งบริการต่างๆ ของห้องสมุด โดยเฉพาะห้องสมุดของสถาบันการศึกษาที่ผู้เรียนกำลังศึกษาอยู่จะต้องรู้จัก อย่างลึกซึ้งในประเด็นต่างๆ ดังกล่าวแล้ว การรู้ห้องสมุดครอบคลุมการรู้แหล่งสารสนเทศอื่นๆด้วย

Network Literacy
     การรู้เครือข่าย ผู้เรียนต้องรู้ขอบเขตและมีความสามารถในการใช้สารสนเทศทางเครือข่ายที่ เชื่อมโยงถึงกันทั่วโลก สามารถใช้กลยุทธ์การสืบค้นสารสนเทศจากเครือข่าย และการบูรณาการสารสนเทศจากเครือข่ายกับสารสนเทศจากแหล่งอื่นๆ
  
Visual Literacy  
    การรู้เกี่ยวกับสิ่งที่เห็น ผู้เรียนสามารถเข้าใจและแปลความหมายสิ่งทีเห็นได้รวมถึงความสามารถในการคิด วิเคราะห์ การเรียนรู้ การแสดงความคิดเห็น และสามารถใช้สิ่งที่เห็นนั้นในการทำงานและการดำรงชีวิตประจำวันของตนเองได้ เช่น สัญลักษณ์บุหรี่ และ มีเครื่องหมายกากบาททาบอยู่ด้านบนหมายถึง ห้ามสูบบุหรี่ สัญลักษณ์ผู้หญิงอยู่หน้าห้องน้ำ หมายถึง ห้องน้ำสำหรับสตรี เป็นต้น 

Media Literacy  
  การรู้สื่อ ผู้เรียนต้องสามารถเข้าถึง วิเคราะห์ และผลิตสารสนเทศจากสื่อต่างๆ เช่น โทรทัศน์ ภาพยนตร์ วิทยุ ดนตรี หนังสือพิมพ์ นิตยสาร เป็นต้น รู้จักเลือกรับสารสนเทศจากสื่อที่แตกต่างกัน รู้ขอบเขตและการเผยแพร่สารสนเทศของสื่อ เข้าใจถึงอิทธิพลของสื่อ และ สามารถพิจารณาตัดสินได้ว่าสื่อนั้นๆ มีความน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงไร 

Digital Literacy  
    การรู้สารสนเทศดิจิทัล ผู้เรียนสามารถเข้าใจและใช้สารสนเทศรูปแบบซึ่งนำเสนอในรูปดิจิทัลผ่าน เครื่องคอมพิวเตอร์ ตัวอย่างการรู้สารสนเทศดิจิทัล เช่น สามารถดาวน์โหลดไฟล์ข้อมูลจากแหล่งทรัพยากรสารสนเทศที่เข้าถึงในระยะไกลมา ใช้ได้ รู้ว่าคุณภาพสารสนเทศที่มาจากเว็บไซต์ต่างๆ แตกต่างกันรู้ว่าเว็บไซต์น่าเชื่อถือและเว็บไซต์ไม่น่าเชื่อถือ รู้จักโปรแกรมการค้นหา สามารถสืบค้นโดยใช้การสืบค้นขั้นสูง รู้เรื่องของกฎหมายลิขสิทธิ์ที่คุ้มครองทรัพยากรสารสนเทศบนเว็บไซต์ การอ้างอิงสารสนเทศจากเว็บไชต์ เป็นต้น 
  
Language Literacy 
  การมีความรู้ด้านภาษา ผู้เรียนมีความสามารถกำหนดคำสำคัญสำหรับการค้น ในขั้นตอนการค้นคืนสารสนเทศที่สำคัญอย่างยิ่งก็คือ การค้นสารสนเทศจาก
อินเตอร์ เนต และการนำเสนอสารสนเทศที่ค้นมาได้ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยเฉพาะภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่จำเป็นมากที่สุด เนื่องจากเป็นภาษาสากล และสารสนเทศส่วนใหญ่เผยแพร่เป็นภาษาอังกฤษ
 

Critical Thinking 
   การคิดอย่างมีวิจารณญาณ ผู้เรียนสามารถคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ ตัดสินใจเลือกรับสารสนเทศที่นำเสนอไว้หลากหลาย โดยการพิจารณาทบทวนหาเหตุผล จากสิ่งที่เคยจดจำ คาดการณ์ โดยยังไม่เห็นคล้อยตามสารสนเทศที่นำเสนอเรื่องนั้นๆ แต่จะต้องพิจารณาใคร่ครวญไตร่ตรองด้วยความรอบคอบและมีเหตุผลว่าสิ่งใดสำคัญ มีสาระก่อนตัดสินใจเชื่อ จากนั้นจึงดำเนินการแก้ปัญหา 

Information Ethic 
    การมีจริยธรรมทางสารสนเทศ การสร้างผู้เรียนให้เป็นคนดี มีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณ มีความสำคัญและเป็นเป้าหมายหลักของการจัดการศึกษา เพื่อปลูกฝังผู้เรียนให้รู้จักใช้สารสนเทศโดยชอบธรรมบนพื้นฐานของจริยธรรม ทางสารสนเทศ เช่น การนำข้อความหรือแนวคิดของผู้อื่นมาใช้ในงานของตนจำเป็นต้องอ้างอิงเจ้าของ ผลงานเดิม การไม่นำข้อมูลที่ขัดต่อศีลธรรมและจรรยาบรรณของสังคมไปเผยแพร่ เป็นต้น  
แหล่งอ้างอิง : คณาจารย์ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัย
ศรีนครินทรวิโรฒ.//(2548).ทักษะการรู้สารสนเทศ.//พิมพ์ครั้งแรก.//กรุงเทพฯ: ภาควิชา
บรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 



การส่งเสริมการเรียนรุ้ในสถาบันอุดมศึกษา
      การพัฒนาให้ผู้ใช้เป็นผู้รู้สารสนเทศ จำเป็นต้องเร่งดำเนินการปูพื้นฐานตั้งแต่การศึกษาระดับต้น และต่อเนื่องถึงระดับอุดมศึกษา (Bruce,2002)
     ประเทศต่างๆจึงกำหนดให้ทักษะการเรียนรู้สารสนเทศ เป้นทักษะหนึงที่ต้องพัฒนาให้เกิดขึ้นในตัวผู้เรียน นอกเหนือจากการเรียนรุ้ในสาขาวิชาด้านต่างๆ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาการเรียนการสอน
      จัดทำเกณฑ์ และแบบทดสอบใช้ 3 มาตรฐาน ด้วยกัน คือ 
  1. สหรัฐอเมริกา Association of college and Research Library 
  2. สถาบันสากล Education testing service (ETS)
ห้องสมุดและการส่งเสริมการรู้สารสนเทศ
      เรียกได้หลากหลาย เช่น การแนะนำห้องสมุด/นำชม (Library Orientation) การสอนการเข้าถึงบรรณานุกรม (Bibliographic Instruction) การให้การศึกษาผู้ใช้ (Users Education) หรือการฝึกทักษะการเรียนรู้ (Information skills training)


การบริการสอนการใช้ห้องสมุดจะจดบริการ 2 ลักษณะ คือ บริการเฉพาะ (One-to-One Instruction) ให้บริการเป็นกลุ่ม (Group Instuction)
  •  นำชมห้องสมุดเกี่ยวกับ ลักษณะทางกายภาพห้องสมุด เจ้าหน้าที่ห้องสมุด เป็นต้น
  • บริการสอนการใช้เครื่องมือช่วยค้นหา
  • บริการสอนการค้นคว้า

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น